โรคเบาหวาน

...
โรคเบาหวานคืออะไร?

“โรคเบาหวานคือโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ”

น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ จึงจะปกติ

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ คือ น้อยกว่า 100 มก./ดล. การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้ 2 วิธี

1. เจาะเลือดกรวดน้ำตาลหลังงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมง ถ้ามีค่ามากกว่า 126 มก./ดล.จะถือว่าเป็น “เบาหวาน” แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า “เริ่มผิดปกติ”
    2. ให้กินกลูโคสและเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลภายหลัง 2 ชั่วโมง คนปกติระดับน้ำตาลต้องน้อยกว่า 140 มก./ดล. ถ้าเป็นเบาหวานระดับน้ำตาลมากกว่า 200 มก./ดล. ถ้าอยู่ระหว่าง 140 – 199 มก./ดล.ถือว่าเริ่มผิดปกติ

อาการ/สาเหตุ ของโรค

“ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและการใช้อาหารแลกเปลี่ยน เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ”

  • - กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลง
  • - ปัสสาวะบ่อยและอาจพบว่ามีมดตอมปัสสาวะและโถส้วม
  • - หิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • - รู้สึกชาปลายมือปลายเท้า แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า
  • - คันตามผิวหนัง
  • - หย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยเฉพาะผู้ชาย
  • - เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว
การวินิจฉัย รู้ทันอาการโรค

“ ถ้าไม่ดูแลตนเอง จะเป็นอย่างไร ”

  • - อวัยวะเพศ : เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • - สมอง : เกิดการสมองเสื่อม เส้นเลือดในสมองตีบตัน เวียนหัว อาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • - หัวใจและหลอดเลือด : หลอดเลือดตีบแข็ง ความดันโลหิตสูง เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่ดีเกิดภาวะหัวใจวาย
  • - ตา : ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาแลจอประสาทตาเสื่อม ทำให้ตาพร้ามัว อาจทำให้ตาบอดได้
  • - ไต : เกิดภาวะไตวาย นำไปสู่การคั่งของสารพิษในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง ซีด อาจถึงตาย
  • - ระบบประสาท : มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ทำให้เป็นแผลได้ง่าย โดยเฉพาะเท้า
  • - ภูมิต้านทานโรคต่ำ : ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น กลาก เกลื้อน เชื้อราที่เล็บและที่อับชื้น ฝี หนอง หากติดเชื้อในกระแสเลือดอาจถึงตาย
  • - ภาวะคีโตสีส : พบในรายที่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ ทำให้มีการคั่งของาสารคีโตนปัสสาวะบ่อย ทำให้กระหายน้ำ ความดันโลหิตต่ำและอาจหมดสติได้
การรักษาโรค / การป้องกันโรค

“ ทำสิ่งเหล่านี้แล้วจะคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ”

  • - ดูแลเรื่องอาหาร
    • 1. รับประทานข้าวแป้ง ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังได้ตามปกติ ไม่ต้องลดลงมาก นอกจากผู้ที่อ้วนให้ลดลงครึ่งหนึ่ง
      2. รับประทานผลไม้ 2-3 ส่วนต่อวันแทนขนม (1 ส่วนของผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้มเขียวหวาน 2 ผล มะละกอ สับปะรด แตงโม 6-8 ชิ้นคำ มะม่วง ฝรั่ง กล้วยหอม ½ ผล เงาะ ชมพู่ 4 ผล เป็นต้น)
      3. รับประทานผัก ปลา ให้มากขึ้นทุกมื้อ
      4. รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
      5. ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าวในการทอด ผัดแต่พอควร
      6. เลือกดื่มนมไม่มีไขมัน นมพร่องมันเนย โยเกิร์ตรสธรรมชาติ แทนนมปรุงแต่งรส
      7. หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ช็อคโกแลตและขนมหวานต่างๆ
      8. รับประทานอาหารรสเค็มน้อย
      9. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัดที่ใช้น้ำมันน้อยแทนการทอด
      10. บริโภคปลา 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่า เพื่อให้ได้โอเมก้า 3
      11. รับประทานอาหารรสเค็มน้อย
      12. ใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มแทนการใช้น้ำตาลทราย
      13. เลิกบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
      14. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • - ดูแลเรื่องออกกำลังกาย
    • ออกกำลังกายตามความสามารถ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง
  • - ดูแลเรื่องอารมณ์
    • ต้องมุ่งมั่น จริงจัง อดกลั้น อดทน กับนโยบายการเปลี่ยนแปลงตนเองและอย่าลืมทำจิตใจให้สบายและพักผ่อนให้เพียงพอ
คำแนะนำโรค

“ สามารถปรึกษาแพทย์ หรือติดต่อผ่านเบอร์ 073223600-4 พูดคุยกับแอดมิน "โอลด์โรส" คลิก m.me/siroroshospital

แพทย์ให้บริการ
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
Amanda Shah

Wellness Classic

Amanda Shah

Wellness Superior

Amanda Shah

Wellness Grand Superior

แหล่งอ้างอิง : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. โรคเบาหวานสู้ได้...หากเข้าใจ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลตนเองเบื้องต้นเรื่องเบาหวาน.

สงวนลิขสิทธิ์ © 2022. โรงพยาบาลสิโรรส